หนังสือเล่มแรกของโลก จากบทความที่แล้วกระดาษนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณซึ่งเรียกได้ว่าเกือบตลอดอารยธรรมองมนุษย์ถูกบันทึกลงกระดาษเลยแต่บทความนี้เราจะพาคุณย้อนไปไกลกว่านั้นอีก เพราะ “วรรณกรรม” ที่มีการถูกบันทึกและเผยแพร่นั้นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีกระดาษกว่าพันปี วรรณกรรมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติที่ถูกค้นพบและยังคงอยู่จนถึงปันจุบัน
บทสวดวิหาร Kesh (The Kesh temple hymn , Liturgy to Nintud หรือ Liturgy to Nintud) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงการสร้างชายและหญิงซึ่งถูกบันทึกลงบนแผ่นแท็บเล็ต(จารึกดินเผาของชาวสุเมเรียน) ซึ่งแผ่นดินเผานี้มีอายุกว่า 2,600 ปีก่อนคริสตศักราชหากไม่นับ the Instructions of Shuruppak ที่เป็นเหมือนหลักคำสอนที่เก่าแก่กว่า ก็นับว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่บนโลกจนถึงปัจจุบันอีกด้วย และที่บทสวดวิหาร Kesh นี้มีความน่าสนใจมากกว่าอายุที่เก่าแก่นั้นคือการที่วรรณกรรมโบราณชิ้นนี้มีการลงประกาศลิขสิทธิ์ไว้ที่ท้ายบทด้วยว่า “ผู้สร้างแผ่นนี้คือเอนเฮดูอันนา ข้าแต่พระองค์ สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นนี้ มิเคยผู้ใดทำมาก่อน”
เอนเฮดูอันนา
ซึ่ง เอนเฮดูอันนา นางคือนักบวชหญิงสูงสุดผู้บูชาเทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเจ้าหญิงพระธิดาของซาร์กอนมหาราช ผู้ก่อตั้งอาณาจักรแห่งแรกของโลก เจ้าหญิงมีบทบาทสำคัญในการรวมเมืองต่างๆ โดยผสมผสานความเชื่อและพิธีกรรมของชาวสุเมเรียนที่นับถือเทพีอินันนาเข้ากับการบูชาเทพีอิชทาห์ของชาวอัคคาเดียน ทรงแต่งบทกวี และบทสรรเสริญตามความเชื่อและเทพผู้พิทักษ์ศาสนสถานของแต่ละเมือง เธอเล่าเรื่องราวของเหล่าเทพในแบบที่มีชีวิต มีการต่อสู้ มีความรัก และตอบรับคำวิงวอนของผู้คน ในส่วนของบทกวี ทรงสรรเสริญเทพีอินันนา และใช้สรรพนาม “ฉัน” บรรยายอารมณ์ความรู้สึก ผลงานของเอนเฮดูอาน่าได้รับการคัดลอกสืบต่อกันมาอีกหลายร้อยปีหลังจากนางเสียชีวิตแล้ว และเชื่อว่าเป็นต้นแบบมหากาพย์ของโฮเมอร์ สกรอลล์
อีกราว 2,000 ปีต่อมา ชาวอียิปต์คิดค้นกระดาษปาปิรุสขึ้น กระดาษปาปิรุสที่เขียนแล้วจะถูกจัดเก็บในรูปของสกรอลล์ (Scroll มาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ escroe หรือ escroue) หรือม้วนกระดาษ ซึ่งรวมถึงกระดาษparchmentหรือกระดาษที่มีการเขียนแล้วจัดเก็บในรูปแบบการม้วน โดยปกติแล้ว สกรอลล์ จะแบ่งออกเป็นหลายหน้าซึ่งบางครั้งก็เป็นแผ่นกระดาษปาปิรุสหรือกระดาษ parchment คนละแผ่นติดกาวที่ขอบเพื่อต่อให้เป็นแผ่นเดียวกัน สกรอลล์ อาจถือเป็นการแบ่งส่วนของม้วนวัสดุการเขียนที่ต่อเนื่อง โดยปกติม้วนกระดาษจะคลี่ออกเพื่อให้เปิดทีละหน้า สำหรับเขียนหรืออ่าน โดยหน้าที่เหลือจะถูกม้วนและเก็บไว้ทางซ้ายและขวาของหน้าที่มองเห็นได้ ส่วนการเขียนข้อความต่างๆก็จะขึ้นอยู่กับอยู่กับภาษาที่ถูกบันทึกลงไป แต่ สกรอลล์ ที่ทำจากปาปิรัสนั้นยาว ขาดง่าย เก็บรักษายาก และมีราคาสูง เมื่อถูกส่งออกไปขายถึงชาวโรมัน พวกเค้าจึงเปลี่ยนมาใช้กระดาษหนัง (Parchment) และกระดาษหนังแกะ (Vellum) ในการจดบันทึกแทน โรลส์
เป็นสกรอลล์กระดาษหนัง (Parchment) และกระดาษหนังแกะ (Vellum) ประเภทหนึ่งที่มีขนาดความกว้างน้อยกว่าสกรอลล์ทั่วไปเรียกว่า โรลส์หรือโรทูลี่ (Rolls or Rotuli) แต่แผ่นหนังหรือกระดาษนี้ก็ยังคงมีความยาวหลายเมตรหรือหลายฟุต โรลส์หรือโรทูลี่ (Rolls or Rotuli) นั้นเป็นที่นิยมใช้จดบันทึกในช่วงยุคกลางและต้นสมัยใหม่ในยุโรป และวัฒนธรรมเอเชียตะวันตกในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีไว้บันทึกสิ่งสำคัญๆอย่าง ต้นฉบับเอกสารที่มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานต่างๆ รวมถึงการบัญชี สัญญาเช่า ข้อตกลงทางกฎหมาย และสินค้าคงคลัง ม้วนโรลส์หรือโรทูลี่อาจมีความกว้างได้ถึง 60 ซม. หรือ 2 ฟุต มักถูกจัดเก็บไว้ด้วยกันในตู้พิเศษบนชั้นวาง
โคเด็กซ์ต้นแบบสมุด
ในช่วงสมัยโรมันนั้นเริ่มจากการพับสกรอลล์เป็นหน้าๆเพื่อให้ง่ายกับการอ่านและการจัดการเนื่องจาก สกรอลล์ และโรลส์มีข้อจำกัดในการอ่านที่จะต้องค่อยคลี่และม้วนไปจนกว่าจะพบเนื้อหาที่ต้องการในอีกส่วนของสกรอลล์ จัดเก็บหลังจากใช้งานยากและเสียเวลา อีกทั้งใช่งานได้เพียงด้านเดียวซึ่งโคเด็กซ์นั้นใช้ง่านได้ทั้งสองด้านซึ่งในที่สุดการพับสกอรลล์ก็จบลงด้วยการตัดและมัดติดกันตามขอบด้านหนึ่ง หน้าหนังสือที่เข้าเล่มได้รับการปกป้องด้วยปกไม้ ซึ่งปกติจะเป็นไม้หุ้มด้วยหนังให้ดูสวยงาม โคเด็กซ์ Codex เป็นภาษาละตินที่แปลว่า "block of wood : ท่อนไม้" (ภาษาละติน liber ซึ่งเป็นรากศัพท์ของ "ห้องสมุด : library") และภาษาเยอรมัน Buch ซึ่งเป็นที่มาของ "หนังสือ : Book" ซึ่งทั้งสองคำหมายถึงไม้ โคเด็กซ์ไม่เพียงแต่ถือได้ง่ายกว่าสกรอลล์เท่านั้น แต่ยังจัดวางบนชั้นวางหนังสือได้อย่างสะดวกอีกด้วย โดยทั่วไปสันหนังสือจะมีชื่อหนังสืออยู่เมื่อจัดเก็บขึ้นชั้นก็จะหันสันออก ซึ่งช่วยให้จัดระเบียบคอลเลคชันได้ง่ายขึ้น พื้นผิวที่ใช้หมึกถูกรักษาให้เรียบ ไม่ถูกทำให้อ่อนลงโดยการงอ และไม่ถูกม้วนซ้ำๆจนหมึกจางอย่างที่ม้วนสกรอลล์ต้องเผชิญในขณะที่ม้วนหน้าเพื่อจัดเก็บและคลี่ออกเพื่ออ่าน ซึ่งสร้างความเครียดทางกายภาพทั้งในตัวกระดาษปาปิรัสและหมึกของสกรอลล์ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมจนเข้ามาแทนที่สกรอลล์ในที่สุด เรียกได้ว่าโคเด็กซ์ นั้นเป็นต้นกำเนิดของสมุดในปัจจุบันก็ว่าได้
หนังสือเล่มแรก
ในค.ศ. 868 สมัยราชวงศ์ถัง หนังสือเล่มแรกของโลกที่ใช้หมึกพิมพ์ลงบนกระดาษก็ถือกำเนิดขึ้นที่จีน เป็นงานพิมพ์ระบบบล็อกไม้ลงบนกระดาษ โดยแกะสลักตัวอักษรลงบนแผ่นไม้ หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่าวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร(Diamond Sutra) เป็นคัมภีร์พุทธศาสนามหายาน แล้วต่อมา ชาวจีนก็คิดค้นบล็อกดินเผาพิมพ์อักษรแยกเป็นตัว แท่นพิมพ์แบบกดแท่นแรกของโลก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวเยอรมันชื่อโยฮันเนิส กูเทินแบร์ค เค้ามีชื่อเสียงจากการมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1450 ซึ่งรวมถึงตัวพิมพ์โลหะอัลลอย และหมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน แม่พิมพ์สำหรับหล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ และแท่นพิมพ์แบบกดแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาจากเครื่องกดที่ใช้ในการทำไวน์ กูเทินแบร์คได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้ และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปหนังสือเล่มแรกที่เขาพิมพ์ออกมาในค.ศ. 1445 คือพระคัมภีร์ไบเบิล ถือเป็นการปฏิวัติวงการหนังสือที่ทำให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ ในราคาที่ถูกลง ช่วยให้ผู้คนมีโอกาสเข้าถึงการอ่านได้มากขึ้น ปัจจุบันยังมีพระคัมภีร์ฉบับที่กูเทินแบร์ค จัดพิมพ์แสดงอยู่ใน บริติชไลบรารี่
อ้างอิง https://www.fancypaper.co.th/index.php/th/article-th/ประวัติกระดาษ-จากปาปิรัสสู่เปเปอร์.html https://happeningbkk.com/post/9658 https://www.itgenius.co.th/article/ประวัติและความเป็นมาของแท็บเล็ต.html https://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/view/12437-ตำนานกระดาษ |