ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นปัญหาสุขภาพ

คำว่า PM ย่อมาจาก particulate matter ซึ่งเป็นหน่วยวัดขนาดของอนุภาคที่อยู่ในอากาศ

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 องค์กรอนามัยโลก (WHO)  ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศหากเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่  37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ประกาศลงในราชกิจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565

 

เป็นเรื่องปกติที่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเมืองหลวงของอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศอยู่เสมอ ด้วยประชากรที่หนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร รวมถึงเขม่าควัน ฝุ่นผงจากการก่อสร้าง และการเผ่าไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมตามวิถีชีวติบางกิจกรรม แต่ที่ไม่ปกติและไม่ควรให้เป็นเรื่องปกติเลยก็คือค่า PM 2.5 ที่เกินมาตราฐานบ่อยครั้งและเป็นเวลานาน ปัจุบันกรุงเทพฯกำลังประสบปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เนื่องจากมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้างที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ มาเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ส่วนปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่นั้นเป็นกรณีที่มีปัจจัยสำคัญมาจากทางด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นแอ่งกระทะโดยมีภูเขาล้อมลอบพื้นที่ราบ ในฤดูหนาวอากาศที่ราบจึงหยุดนิ่ง ลมจึงพัดนำฝุ่นควันออกนอกพื้นที่ได้ยาก อีกทั้งยังมีการเผาพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูก และฝุ่นควันที่ถูกพัดมาจากนอกพื้นที่

อันตรายจาก PM 2.5

ปกติในทางเดินหายใจของเรามีขนพัดโบกหรือขนจมูก (respiratory cilia) และมีการหลั่งน้ำมูก เสมหะ เพื่อดักจับไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ทางเดินหายใจ แต่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตรจะสามารถเล็ดรอดเข้าไปได้ถึงหลอดลมฝอยขนาดเล็ก (bronchiole) และหากมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร ก็จะสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย

อันตรายต่อผิวหนัง

อาจทำให้เกิดผื่นคันตามตัว ลมพิษทำให้ผิวแพ้ง่าย และทำให้ผิวเกิดริ้วรอยก่อนวัยซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

อันตรายต่อทางเดินหายใจและปอด 
แน่นอนว่ามลพิษในอากาศส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอด เมื่อผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นหอบหืดได้เช่นกัน อาจทำให้เยื่อบุอักเสบและโพรงจมูกอักเสบ หากสะสมเป็นเวลานานอาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้

อันตรายต่อหัวใจ
การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองพิษเล็กติดต่อกันระยะหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการตะกอนภายในหลอดเลือด จนทำให้เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ ทั้งนี้การสัมผัสมลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน

อันตรายต่อสมอง
เมื่อฝุ่นผงขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสมขึ้น  ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัวทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรืออาจส่งผลอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ที่ควรพบแพทย์ทันที

อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 นั้นมีหลายอาการซึ่งในบางอาการที่แสดงออกมานั้นเป็นอาการที่อันตราย ซึ่งหากเกิดอาการแพ้ฝุ่น PM2.5 เหล่านี้ควรแพทย์พบทันที

- แสบตา ระคายเคืองตาอย่างมาก

- มีน้ำมูกเกิน 1 สัปดาห์

- ไอ หรือ จามเรื้อรังมานานกว่า 2 สัปดาห์

- หายใจไม่สะดวก ติดขัด

 

อ้างอิง

https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/pm2.5-allergy#section3

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/อันตรายจากฝุ่น-PM2-5

https://www.phyathai.com/th/article/2884-pm2_5_คืออะไร_pyt3

https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/ปัจจัยการเกิดpm2-5ในภาคเหนือ