สาเหตุการก่อมะเร็งจากมื้ออาหารที่คนไทยพบบ่อยจนชินตา

                   จากข้อมูลการจัดอันดับของ IARC (International Agency for Research on Cancer) หรือหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งขององค์การอนามัยโลก ไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับที่ 13 ของเอเชีย และอันดับ 4 ของอาเซี่ยนปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งได้แก่

  1. อายุ / กรรมพันธุ์ / ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
  2. การสูบบุหรี่ (มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด)
  3. การใช้สารเคมีเป็นประจำ
  4. การขาดการออกกำลังกาย
  5. การรับประทานอาหาร อย่างอาหารไขมันสูง หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุเกิดการเกิดมะเร็งจากอาหารที่คนไทยพบบ่อยจนชินตาได้แก่

     5.1 อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปิ้ง ย่างด้วยเตาถ่าน

มีสารก่อมะเร็งชื่อว่าสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ ทำให้เกิดเป็นควันที่เป็นสารก่อมะเร็งและลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากก็จะสะสมในร่างกาย จนเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารได้

     5.2 อาหารประเภททอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมากกว่าสองรอบ

มีสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประกอบอยู่ด้วยเช่นกันเกิดจากการแตกตัวของน้ำมันที่เสื่อมสภาพ ซึ่งหากบริโภคติดต่อกันก็อาจเข้าไปสะสมในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอของน้ำมันเข้าไปก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเช่นกัน

     5.3 ไขมันในสัตว์เนื้อแดง

อย่างหมู แกะ แพะ หรือวัว รวมไปถึงไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนมและ น้ำมันที่ได้จากพืชบางชนิดที่ทำให้ร่างกายผลิตคลอเรสเตอรอลมากขึ้น ซึ่งไขมันประเภทนี้มีส่วนต่อการก่อตัวของมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

     5.4 อาหารประเภท หมัก ดอง

มักจะมี “ดินประสิว” ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า “โพตัสเซียมไนเตรต” เป็นส่วนประกอบในอาหาร เพราะสารดังกล่าวนี้จะช่วยคงสภาพให้เนื้อสัตว์มีสีแดงดูน่ารับประทานได้นานกว่าปกติ และมีคุณสมบัติเป็นสารกันบูดเช่นเดียวกับสารกันบูดประเภทไนไตรต์ และโซเดียมไนเตรต ที่ได้รับการบรรจุอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋อง แม้จะมีประโยชน์ในการช่วยถนอมอาหาร แต่สารเหล่านี้ก็จัดเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งหากร่างกายได้รับอาหารที่มีสารกันบูดเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้นตามไปด้วย

     5.5 กระดาษถ่ายเอกสารต่างๆที่ขาวสว่างมาก หรือกระดาษที่มีสีสันฉูดฉาด

ในการผลิตกระดาษมักจะมีการใส่สารฟอกขาว(OBA: Optical Brightening Agent) ลงไปเพื่อเพิ่มให้สีกระดาษดูขาวสว่างสดใสหน้าใช้มากขึ้น ซึ่งสาร OBA เป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถละลานในน้ำเปล่าได้ และหากตกค้างที่ผิวหนังของเรามากเข้านานเข้าแล้วสารตัววนี้ไปเจอกับรังสี UV ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังได้ หรือหากปนเปื้อนกับอาหารก็จะเข้าสู่ร่างกายก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย เพราะร่างกายคนเราไม่สามารถกำจัดสาร OBA ออกไปได้

ทั้งนี้ก็ไม่ใช้ว่าเราจะทานอะไรไม่ได้เลย หากเราทานอย่างพอดี พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆเท่าที่เป็นไปได้ รวมถึงการออกกำลังกายเสม่ำเสมอโอกาศเกิดมะเร็งก็อาจะลดลงได้

แต่ที่แฟนซีเปเปอร์เรามีกระดาษที่ไม่มีสารฟอกขาว(Non OBA)ขาย กระดาษของเราที่ได้รับการรับรองจาก FDA สหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่ากระดาษของเราปลอดภัยสามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง หมดห่วงเรื่องสารตกค้างหรือปนเปื้อนอาหารที่มาจากกระดาษ นอกจากนี้เรายังมีกระดาษได้รับการรับรองจาก FSC และ PEFC ที่แสดงถึงการใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้อย่างรู้คุณค่าและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

     อ้างอิงเนื้อหาจาก

     https://gco.iarc.fr/today/

     https://www.sikarin.com/health

     https://www.vejthani.com/th/